Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

รายละเอียดผู้ให้บริการ


รายชื่อสถานประกอบการที่ต้องการให้ ESCO เข้าไปดำเนินการการอนุรักษ์พลังงานให้มีดังต่อไปนี้
หากท่านต้องการติดต่อกับสถานประกอบการ ติดต่อได้ที่ ESCO Information Center
โทรศัพท์ : 023451250-51 email : admin@thaiesco.org

ผลงานที่เคยดำเนินงาน
 
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
บริษัท โรงพยาบาลพญาไท 1 จำกัด
บริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) โรงงาน 3
โรงแรม กะรน ภูเก็ต จำกัด
โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพ
ห้างสรรพสินค้า ฟอรั่ม พลาซ่า
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บิช รีสอร์ต สมุย (Centara Grand Beach Resort Samui)
บริษัท โรงพยาบาลกรุงธน 1 จำกัด
TESCO LOTUS
ยูไนเต็ด มินิมาร์ท (United Minimart)
กรมที่ดิน จ. สมุทรสาคร (Land Department in Samutsakorn)
สำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน (Bureau of Energy Regulation And Conservation)
บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) ร้าน 7-ELEVEN (C.P. Seven Eleven Public Co., Ltd.)
บริษัท เอ. จี ยูเนี่ยน จำกัด (A.G. Union Co., Ltd.) (อาคาร Liberty Square)
บริษัท เอื้อวัฒนสกุล จำกัด (Uahwatanakul Co., Ltd.) (อาคารอื้อ จื่อ เหลียง)U Chu Liang)
นิติบุคคลอาคารชุดสาทรซิตี้ (Sathorn City Tower Juristic Person)
บริษัท ไทยโยโกเร จำกัด (สาขาบางปะกง) (Thai Yokorei Co., Ltd.) (Bangpakong)
บริษัท เอ็น เค เม็คคาทรอนิกส์ จำกัด (NK Mechatronics Co., Ltd.)
บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เฟิร์น จำกัด (Index Interfurn Co., Ltd.)
บริษัท บางกอก อินเตอร์เฟิร์น จำกัด (Bangkok Interfurn Co., Ltd.)
บริษัท มิตานิ (ประเทศไทย) จำกัด (Mitani (Thailand) Co., Ltd.)
บริษัท นิปโป เม็คคาทรอนิกส์ พาร์ทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (Nippo Mechatronics Parts (Thailand) Co., Ltd.)
บริษัท ซูมิโกะ ลีดเฟรม (ไทยแลนด์) จำกัด (Sumiko Leadframe (Thailand) Co., Ltd.)
บริษัท มูซาชิ ออโต้ พาร์ท จำกัด (Musashi Auto Parts Co., Ltd.) (Prachinburi)
บริษัท แอปเปิ้ล ฟิลม์ จำกัด (Apple Film Co., Ltd.)
บริษัท ซูมิโตโม อิเล็คตริค ไวริ่ง ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Sumitomo Electric Wiring Systems (Thailand) Co., Ltd.)
บริษัท ซิงเด็นเก็น (ประเทศไทย) จำกัด Shindengen (Thailand) Co., Ltd.
บริษัท สุรพล นิชิเร ฟูดส์ จำกัด (Surapon Nichirei Foods Co., Ltd.)
บริษัท โกเบ มิก ไวร์ (ประเทศไทย) จำกัด (Kobe Mig Wire (Thailand) Co., Ltd.)
บริษัท ฟูจิสึ จำกัด (Fujitsu Co., Ltd.)
บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) (Daikin Industries (Thailand) Co., Ltd.)
บริษัท ชินาโน เคนชิ (ประเทศไทย) จำกัด (Shinano Kenshi (Thailand) Co., Ltd.)
บริษัท เมคเทค คิทามูระ (ประเทศไทย) จำกัด (Metek Kitamura (Thailand) Co., Ltd.)
บริษัท สีมา เทคโนโลยี่ จำกัด (Sima Technology Co., Ltd.)
บริษัท ทาคาฮาชิ โคราช (1995) จำกัด (Takahashi Korat (1995) Co., Ltd.)
บริษัท โตมิ (ประเทศไทย) จำกัด (TOMY (Thailand) Ltd.)
โรงแรมรีเจนซี่ ปาร์ค (Regency Park Hotel)
โรงแรมแพนแปซิฟิค (Pan Pacific Hotel)
โรงแรมโนโวเทล โลตัส (Novotel Lotus Hotel)
โรงแรมโนโวเทล บางนา (Novotel Bangna Hotel)
โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ (Novotel Siam Square Hotel)
โรงแรมอมารี บูลเลอวาร์ด (Amari Boulevard Hotel)
โรงแรมอมารี เอเทรี่ยม (Amari Atrium Hotel)
โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต (Amari Watergate Hotel)
โรงแรมเลอ รอยัล เมอริเดียน (Le Royal Meridien Hotel)
บริษัท แอลแคนแพ็คเกจจิ้ง สตรองแพ็ค จำกัด (มหาชน)
บริษัท ซิตี้เรียลตี้ จำกัด (EMPORIUM TOWER)
โรงแรม แกรนด์ ไฮเอท เอราวัณ (GRAND HYATT ERAWAN HOTEL)
 

 

เทคโนโลยีที่ใช้ในการดำเนินงาน
การบำบัดน้ำและปรับสภาพน้ำด้วยโอโซน 1. ประสิทธิภาพการระบายความร้อนของ Condenser มีค่าไม่เปลี่ยนแปลงทำให้ Chiller ทำงานเต็มประสิทธิภาพ
2. ไม่ใช้สารเคมี
3. ประหยัดค่าน้ำ และระบบ Softener เพราะไม่ต้องใช้น้ำ Soft
4. รักษาสิ่งแวดล้อมเพราะไม่มีการใช้สารเคมี
5. ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ เพราะระบบไม่มีการเกิดตะกรัน
6. ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อม เพราะไม่ต้องสัมผัสกับสารเคมี
7. ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อม เพราะมีปริมาณเชื้อโรคที่ปะปนในน้ำต่ำ
 
 
 
อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบสำหรับมอเตอร์ (VSD) 1. สามารถปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้จากเดิมซึ่งคงที่ ทั้งมอเตอร์ ปั๊มน้ำ และพัดลม ทำให้ได้ความเร็วรอบที่เหมาะสมตามความ ต้องการทำงานในแต่ละลักษณะ และยังทำการควบคุมแบบ Closed Loop Control เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพคงที่อยู่ตลอดเวลา 
2. เพิ่มคุณภาพของชิ้นงานให้ถูกต้องตามความต้องการ และลดต้นทุนในการผลิต 
3. ช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักร และป้องกันการสูญเสียของมอเตอร์ พัดลม และปั๊มน้ำ 
4. ลดการกระชากไฟฟ้าตอนเริ่มต้น ทำให้ลดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
 
 
 
อุปกรณ์ควบคุมแสงสว่าง
การเปลี่ยนหลอดฟลูออเรสเซนต์ T8 เป็น T5 คุณสมบัติเฉพาะ(Specification)
หลอดฟลูออเรสเซนซ์ (T5) 28 วัตต์
1. ค่าเริ่มต้นฟลั๊กการส่องสว่าง(ที่ 100 ชั่วโมง) มากกว่า 2,600 ลูเมน
2. ค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (ที่ 100 ชั่วโมง)  มากกว่า 95 ลูเมนต่อวัตต์ (No.5 ≥14W)
3. ค่าดำรงลูเมนของหลอดหลังการใช้งาน 2,000 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 
4. ดัชนีความถูกต้องของสี (Color Rendering Index : CRI) ไม่น้อยกว่า 82
5. รับประกัน 15000 ชั่วโมง (ใช้งานวันละ 10 ชั่วโมง) ใช้งานปกติที่แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ (+6%,-10%)
6. ผ่านการรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ด้านความปลอดภัย (มอก.956-2533)
7. ผ่านการรับรองตามมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001

หลอดฟลูออเรสเซนซ์ (T5) 14 วัตต์
1. ค่าเริ่มต้นฟลั๊กการส่องสว่าง(ที่ 100 ชั่วโมง) มากกว่า 1,120 ลูเมน
2. ค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (ที่ 100 ชั่วโมง)  มากกว่า 85 ลูเมนต่อวัตต์
3. ค่าดำรงลูเมนของหลอดหลังการใช้งาน 2,000 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 
4. ดัชนีความถูกต้องของสี (Color Rendering Index : CRI) ไม่น้อยกว่า 82
5. รับประกัน 15000 ชั่วโมง (ใช้งานวันละ 10 ชั่วโมง) ใช้งานปกติที่แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ (+6%,-10%)
6. ผ่านการรับรองมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ด้านความปลอดภัย (มอก.956-2533)
7. ผ่านการรับรองตามมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001

 
 
 
ปั้มความร้อน (Heat Pump) เป็นอุปกรณ์ในการถ่ายเทความร้อน ทำงานโดยการการดึงความร้อนจากแหล่งความร้อน (Heat Source) แล้วนำไปถ่ายเทในบริเวณที่ต้องการความร้อน
  หลักการทำงานจะเหมือนกับระบบการทำความเย็นแบบอัดไอ แต่แตกต่างกัน คือ ปั๊มความร้อนจะใช้ประโยชน์จากด้านความร้อนเป็นหลัก และควบคุมอุณหภูมิด้านความร้อนให้ได้ตามต้องการ และด้านความเย็นจะได้ความเย็นเป็นผลพลอยได้
ประโยชน์ของ Heat Pump   
- ใช้ผลิตน้ำร้อนสำหรับกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคาร
- ใช้ในการอบแห้งอากาศ เพื่อไล่ความชื้นของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิต
- สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับแหล่งความร้อนที่สูญเสียจากกระบวนการผลิต โดยผ่านปั้มความร้อนเพื่อเพิ่มอุณหภูมินำไปใช้ใหม่ได้

- สามารถใช้แทนหม้อต้มน้ำหรือหม้อ ไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงหรือไฟฟ้า เพื่อผลิตน้ำร้อนอุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส เนื่องจากหม้อไอน้ำในกระบวนการผลิตมีการสูญเสียความร้อนมาก ปั้มความร้อนจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าเมื่อใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ ประมาณ 50-60 องศาเซลเซียส
- ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงหรือ ไฟฟ้า เพราะมีสัมประสิทธ์การทำงาน (Coefficient of Performance : COP) สูงกว่าการผลิตความร้อนโดยใช้น้ำมันหรือแก๊ส หรือฮีทเตอร์ไฟฟ้า โดยเฉพาะถ้าธุรกิจต้องการใช้น้ำร้อนในปริมาณมากอย่างโรงงาน หรือโรงแรม ที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส

 
 
 
หม้อไอน้ำ (Boiler) เครื่องกำเนิดไอน้ำชนิดภาชนะปิด หลักการทำงาน ภายในภาชนะบรรจุน้ำและไอน้ำหม้อไอน้ำจะได้รับความร้อน จากนั้นจะส่งผ่านความร้อนต่อไปยังน้ำที่อยู่ภายในหม้อไอน้ำจนกระทั่งน้ำกลาย เป็นไอส่วนใหญ่แล้วจะมีหน้าที่ในการสร้างไอน้ำเพื่อใช่ส่งผ่านความร้อนไปยัง เครื่องจักร ทำให้ต้นทุนค่าพลังงานถูกลงกว่าการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องจักร หม้อไอน้ำสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ดังนี้

1 หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire Tube Boiler)   
หม้อไอน้ำแบบท่อ มีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ เปลือกรูปทรงกระบอกที่ภายในมีท่อไฟใหญ่และกลุ่มท่อไฟเล็ก ท่อไฟใหญ่ทำหน้าที่เป็นห้องเผาไหม้  ก๊าซสันดาปจะไหลจากห้องเผาไหม้ที่เป็นท่อไฟใหญ่ไปยังท่อไฟเล็ก ซึ่ง รอบๆ ท่อไฟใหญ่และท่อไฟเล็กจะล้อมรอบด้วยน้ำที่จะรับความร้อนเพื่อเปลี่ยนสภาพ เป็นไอน้ำ โดยทั่วไปจะมีขนาดไม่เกิน 12 ตัน/ชั่วโมง และความดัน 10 kg/cm2

2 หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ (Water Tube Boiler) 
หม้อไอน้ำแบบแบบท่อน้ำ ประกอบด้วยหม้อเผาไหม้และห้องความร้อน เนื่องจากน้ำที่อยู่ในท่อมีปริมาณน้อย จึงระเหยได้รวดเร็วมักจะสร้างเป็นขนาดเล็กๆ 200 – 2,000 kg/hr. โครงสร้างมักจะเป็นแบบตั้ง มีรูปร่างกะทัดรัด พื้นที่ติดตั้งน้อย ถ้าหากต้องการใช้ไอน้ำจำนวนมากจะนิยมติดตั้งหลายๆ เครื่อง และระบบควบคุมอัตโนมัติรวมเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน 
ในปัจจุบันมีการใช้หม้อไอน้ำที่ใช้ LPG หรือ ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนการใช้น้ำมันเตา เนื่องจากค่าความร้อนของ LPG มีค่ามากกว่าน้ำมันเตา เมื่อทำการเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากน้ำมันเตาเป็น LPG จึงสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายดังตัวอย่างต่อไปนี้

Fuel type       Heat calorific Fuel price
- Heavy oil C 9,800 kcal/L 26.0 Baht/L
- LPG               12,000 kcal/kg 18.0 Baht/L

โรงงาน ก มีการใช้น้ำมันเตาเดือนละ 42,000 ลิตร เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำใช้ในกระบวนการผลิต คิดเป็นราคาค่าน้ำมันเตาเดือนละ 1,092,000 บาท ซึ่งจะได้ค่าความร้อนเท่ากับ  411,600,000 kcal  เมื่อทำการเปลี่ยนหม้อไอน้ำจากน้ำมันเตาเป็น LPG ที่ค่าความร้อน 411,600,000 kcal จะใช้ LPG เท่ากับ 411,600,000/12,000 = 34,300 kg ซึ่งเมื่อคิดเป็นราคาค่าเชื้อเพลิงสำหรับ LPG  จะได้ 617,400 บาท สามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้เดือนละ 474600  บาท หรือสามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ปีละ 5,695,200 บาท
 
 
 
การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่
ระบบนำความร้อนทิ้งจากเครื่องปรับอากาศมาผลิตน้ำร้อน ระบบการนำความร้อนทิ้งจากระบบปรับอากาศมาผลิตน้ำร้อนใช้ฟรี ถือเป็นการช่วยลดค่าพลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศวิธีหนึ่ง ในขณะเครื่องปรับอากาศทำงาน สารทำความเย็นที่ออกจากคอมเพรสเซอร์จะมีอุณหภูมิสูง และจะถูกส่งไปที่คอนเดนซิ่งนำความร้อนออกเพื่อให้มีอุณหภูมิต่ำลง ฉะนั้นสามารถนำความร้อนที่ถูกปล่อยทิ้งที่คอนเดนเซอร์มาใช้ประโยชน์โดยนำ กลับมาแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำ การผลิตน้ำร้อนด้วยวิธีนี้ อาศัยหลักการนำความร้อนจากสารทำความเย็นที่เป็นสภาวะก๊าซที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศที่มีอุณหภูมิสูงประมาณ 80-90 C° มาถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำหรือของเหลวที่ต้องการ 
โดยการให้ผ่านชุดแลกเปลี่ยนความร้อนแบบของเหลวกับน้ำที่เป็นตัวกลางในการ ถ่ายเทความร้อนจนสารทำความเย็นเริ่มเย็นตัว ในขณะที่น้ำที่อยู่ในถังเก็บความร้อนจะมีอุณหภูมิสูง ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศสามารถระบายความร้อนได้เร็วขึ้น คอมเพรสเซอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะช่วยสร้างความเย็นภายในห้องได้เพิ่มขึ้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำงานน้อยลง จึงช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศได้ ส่วนน้ำร้อนที่ได้ก็สามารถนำไปใช้ต่อไปได้
 
 
 
การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่
ระบบนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (WASTE HEAT RECOVE ระบบนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (Economizer) เป็นระบบที่โรงงานสามารถนำความร้อนกลับมาใช้เพิ่มอุณหภูมิของน้ำและอากาศ ก่อนเข้าหม้อไอน้ำได้ ช่วยให้ลดการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำลงได้ และยังลดอุณหภูมิของไอเสียที่ปล่อยสู้สิ่งแวดล้อมอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า Economizer ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
 
 
 
ควบคุมความเย็นด้วยรีโมตประหยัดแอร์ (AEROTRON) เป็นระบบในการประหยัดพลังงานในระบบเครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนภายใต้แนวคิดใหม่ ซึ่งเรียกว่า เทคนิคการบริหารจัดการชั่วโมงการทำงานของคอมเพรสเซอร์ (Duty Cycle Management) คือเป้าหมายของระบบคือบริหารจัดการเพื่อลดจำนวนชั่วโมงการทำงานของอุปกรณ์คอมเพรสเซอร์ให้น้อยกว่าระบบควบคุมแบบเดิมซึ่งใช้เทอร์โมสตรัท โดยที่มีผลกระทบต่อความเย็นในพื้นที่น้อยที่สุด โดยระบบจะใช้การวิเคราะห์อุณหภูมิอากาศที่วนกลับเข้าเครื่องเพื่อหาอัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งเมื่อได้ค่าที่เหมาะสม วงจรจะกำหนดช่วงเวลาการทำงานของคอมเพรสเซอร์ให้ทำงานนานหรือสั้นตามภาวะอุณหภูมิห้อง
 
 
 
ระบบปรับอากาศความเย็นขนาดใหญ่ (Chiller) Chiller คือ ระบบปรับอากาศความเย็นขนาดใหญ่ที่มีหน้าที่ ในการผลิตน้ำเย็นและส่งน้ำเย็นไปยัง FCU เพื่อปรับอากาศในจุดต่างๆ หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water cooled chiller) จากการออกแบบทางวิศวกรรมทำให้ มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นที่สูงหรือกินไฟฟ้าเพียง 0.5-0.8 กิโลวัตต์/ตันความเย็น ซึ่งเมื่อเปรียบเที่ยบกับเครื่องปรับอากาศแบบระบายความร้อนด้วยอากาศหรือเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแล้วจะสามารถประหยัดได้มากกว่า  การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เพียงแต่สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้เท่านั้นแต่ยังได้ค่าความเย็นที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย 
 
  Chiller คือ จะนำไอน้ำหรือสารทำความเย็นมาอัดที่ตัว Compressor และไปทำการลดความดันของน้ำยาลง โดยผ่านตัว Expansion Valve เพื่อลดความดันของของน้ำยาลงและเปลี่ยนน้ำยาเหลวให้เป็นไอ จากคุณสมบัติของน้ำยาทำความเย็น เมื่อเปลี่ยนจากของเหลวที่ความดันสูงกลายเป็นน้ำเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 5-7 0C แล้วไอน้ำก็ถูกดูดกลับมาอัดที่ Compressor ใหม่อีกครั้งหนึ่ง หมุนเวียนเป็นวงจรเช่นนี้ตลอดเวลา จึงทำให้ Chiller สามารถผลิตน้ำเย็นได้อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถส่งน้ำเย็นนี้ไปจ่ายให้เครื่องแอร์ที่อยู่ตามอาคารต่างๆ ที่ไกลจากเครื่อง Chiller ได้
 
อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automatic Voltage Regulator : AVR) อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automatic Voltage Regulator : AVR)  เป็นอุปกรณ์ประหยัด
พลังงานที่ติดตั้งต้นทางระหว่างหม้อแปลงกับตู้จ่ายไฟหลัก (MDB) วัตถุประสงค์เพื่อการประหยัด
พลังงานทั้งวงจร ปรับระดับแรงดันไฟฟ้าส่วนเกินให้อยู่ในพิกัด และสามารถกำหนดพิกัดค่า
แรงดันไฟฟ้าได้ตามต้องการพร้อมทั้งลดการสูญเสียในระบบ ปรับปรุงคุณภาพของระบบไฟฟ้า และ
รักษาแรงดันไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพดีขึ้น ไม่ว่าแรงดันไฟฟ้าในแต่ละเฟสจะขึ้นหรือตกในช่วงเวลาใดก็
ตาม อุปกรณ์ฯ จะทำหน้าที่รักษาความสมดุลในแต่ละเฟสแบบอิสระโดยอัตโนมัติในการที่จะปรับลด
หรือเพิ่มแรงดันไฟฟ้า 
 
  • กลไกการทำงานของอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automatic Voltage Regulator : AVR) 
   1.ชุดควบคุมวงจร (Control System) ทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันไฟฟ้าขาออกตามพิกัดที่กำหนดจาก  โหมดการทำงาน (Pre-Set Voltage) ที่พิกัด A, B, C, D และ E ไม่ว่าสภาวะของแรงดันไฟฟ้าขาเข้าที่ผ่านมาจากหม้อแปลงไฟฟ้าไม่คงที่ ชุดควบคุมสามารปรับลดหรือเพิ่มแรงดันไฟฟ้าในแต่ละเฟสได้โดยอัตโนมัติตามระดับแรงดันไฟฟ้าขาเข้าที่เกินมากน้อยจากพิกัดที่กำหนดไว้ก็จะปรับเป็นสัดส่วน -6%, -4%, -2%, 0% และยังสามารถปรับแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำกว่าพิกัดเพิ่มได้ +2% ภายใน 5 วินาที นอกจากนี้ยังช่วยรักษาแรงดันไฟฟ้าแต่ละเฟสให้สม่ำเสมอ ช่วยลดการสูญเสียพลังงานในระบบอีกด้วย
   2. วงจรป้องกัน (Protection Circuit) กรณีอุปกรณ์ฯ ทำงานผิดปกติ วงจรป้องกันจะทำหน้าที่ไปยัง  Direct Supply Mode ทำให้ภาวะจ่ายแรงดันไฟฟ้าขาออกมีค่าเท่ากับขาเข้า
•  ประโยชน์ที่จะได้จากการติดตั้งอุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automatic Voltage Regulator : AVR)
   1. ปริมาณการใช้ค่าพลังงานไฟฟ้า (KWH) และค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้า (KW) ลดลง 
       5%-12%  ขึ้นอยู่กับภาระโหลดที่ใช้งาน
   2. สามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสมและมีเสถียรภาพ
   3. รักษาความสมดุลระหว่างเฟส และกระแสเป็นการเพิ่มคุณภาพในระบบไฟฟ้าให้ดีขึ้น
   4. ลดการสูญเสียในระบบไฟฟ้า
   5. ลดจ่ายเกี่ยวกับการดูแล/ซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งรวมถึงเวลาและค่าแรงในการเปลี่ยนอุปกรณ์หรือหลอดไฟต่างๆ
 

 

 

Top