Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

ประเภท ESCO



 

การจัดประเภท (ESCO Classification of ESCO in Thailand) จากการรวบรวมข้อมูลธุรกิจบริษัทจัดการพลังงานในประเทศไทย ซึ่งได้ดำเนินกิจการในปัจจุบัน และได้พัฒนาองค์กรมาจากหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละบริษัทมีความเชี่ยวชาญ หรือมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

        

1. บริษัทขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ด้านการอนุรักษ์พลังงาน (Equipment and Technology: ET) เป็นกลุ่มบริษัทนี้จะเน้นให้การบริการไปในกลุ่มโครงการหรือองค์กรที่มีขนาดใหญ่ เพราะมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค เทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ อีกทั้งให้การบริการครบทุกกระบวนการตั้งแต่การตรวจสอบไปจนถึงการบำรุงรักษา และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุปกรณ์ด้านการอนุรักษ์พลังงาน มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1 บริษัท (โดยเทียบกับข้อมูลสะสมปี 2552-2553)
   
2. บริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ทางด้านพลังงาน (Equipment Agency: EA) 
เป็นบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ด้านพลังงานรวมถึงการติดตั้ง ดูแลและให้บริการบำรุงรักษาอุปกรณ์ แต่บริษัทเหล่านี้จะไม่มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ตนเองจำหน่ายอยู่ มีจำนวนเพิ่มขึ้น 4 บริษัท (โดยเทียบกับข้อมูลสะสมปี 2552-2553)
   
3. บริษัทที่พัฒนามาจากองค์กรที่ปรึกษาด้านพลังงาน (Energy Consultant: EC) เป็น 
กลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบของที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งก็เป็นกลุ่มที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในทุกด้านและมีความชำนาญในด้านเทคโนโลยีด้วย เช่น ให้การตรวจสอบวิเคราะห์การใช้พลังงาน การออกแบบโครงการ การบริหารจัดการและการให้การบำรุงรักษาอุปกรณ์ มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1 บริษัท (โดยเทียบกับข้อมูลสะสมปี 2552-2553)
   
4. บริษัทที่มาจากธุรกิจผลิตพลังงาน (Energy Generator: EG) เป็นบริษัทที่มาจากธุรกิจที่ทำงานเกี่ยวกับด้านการอนุรักษ์พลังงานอยู่แล้วซึ่งเป็นบริษัทที่มีองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีความรู้ความเชี่ยวชาญและความพร้อม โดยจัดตั้งแยกเป็นบริษัทที่ให้บริการในด้านต่างๆ มีทั้งการให้การตรวจสอบการใช้พลังงาน การติดตั้งอุปกรณ์และการบำรุงรักษา มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1 บริษัท (โดยเทียบกับข้อมูลสะสมปี 2552-2553)

        

ทุนจดทะเบียน (Authorized Capital) 
     สถาบันพลังงานฯ สภาอุตสาหกรรมฯ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลในการแบ่งแยกขนาดของบริษัท ESCO ตามทุนจดทะเบียนของบริษัท สามารถแยกขนาดตามทุนจดทะเบียนดังนี้

    

1.

บริษัท ESCO ประเภท S 
     เป็นบริษัท ESCO ที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1 ล้านบาท ถึง 5 ล้านบาท มีจำนวนเพิ่มขึ้น 5 บริษัท (โดยเทียบกับข้อมูลสะสมปี 2552-2553)

   
2. บริษัท ESCO ประเภท M 
     เป็นบริษัท ESCO ที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ถึง20 ล้านบาท มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1 บริษัท(โดยเทียบกับข้อมูลสะสมปี 2552-2553)
   
3.

บริษัท ESCO ประเภท L 
     เป็นบริษัท ESCO ที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ถึง 50 ล้านบาท มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1บริษัท (โดยเทียบกับข้อมูลสะสมปี 2552-2553)

   
4. บริษัท ESCO ประเภท XL 
     เป็นบริษัท ESCO ที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (โดยเทียบกับข้อมูลสะสมปี 2552-2553)