Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

บริษัทจัดการพลังงาน



นิยาม
 

นิยามธุรกิจบริษัทจัดการพลังงาน (Energy Service Company; ESCO)

         เป็นธุรกิจที่ให้บริการในด้านการอนุรักษ์พลังงาน และ/หรือพลังงานทดแทน ที่ให้บริการครบวงจร โดยการบริการจะครอบคลุมถึง การให้คำปรึกษา การเสนอโครงการ การบริหารโครงการ การออกแบบทางวิศวกรรม วิเคราะห์การใช้พลังงาน ติดตั้งอุปกรณ์ และดำเนินงานสำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน และ/หรือพลังงานทดแทน การจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการด้านพลังงาน เป็นต้น โดยบริการของ ESCO จะต้องมีสัญญารับประกันผลการดำเนินงานที่มีกระบวนการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการดำเนินการอย่างชัดเจน อันถือเป็นหลักสำคัญยิ่งของการดำเนินธุรกิจนี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าความเสี่ยงด้านเทคนิค ของโครงการพลังงานได้ถูกรับประกันโดย ESCO อย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาสัญญาบริการ

 

โดยธุรกิจบริษัทจัดการพลังงานประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้อง 3 ส่วน ได้แก่

  • ผู้ให้บริการ ได้แก่ บริษัทจัดการพลังงาน (Energy Service Company; ESCO)
  • ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ประกอบการต่างๆ ที่ต้องการใช้บริการด้านการอนุรักษ์พลังงานและ/หรือพลังงานทดแทนจาก ESCO
  • แหล่งทุน เป็นผู้ให้การสนับสนุนเงินลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและ/หรือพลังงานทดแทน ได้แก่ สถาบันการเงิน ธนาคาร หรือ ESCO เป็นต้น

 

 

ขีดความสามารถของบริษัทจัดการพลังงาน

  • ความสามารถในการจัดหาเงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ
  • ความสามารถในการตรวจวัดการใช้พลังงาน (Energy Audit) แบบเบ็ดเสร็จ
  • การนำเสนอบริการเบ็ดเสร็จ ได้แก่การตรวจวัด, การออกแบบด้านวิศวกรรม, การบริหารโครงการ, การเริ่มเดินเครื่อง, การบริหารพลังงาน (รวมถึง O&M ของอุปกรณ์และเทคโนโลยี) และการฝึกอบรม
  • สามารถประกันผลงาน โดยการตรวจสอบติดตามและพิสูจน์ปริมาณพลังงานที่ประหยัดได้
  • สามารถให้ความช่วยเหลือ แนะนำและบริการจัดหาเงินทุนเพื่อดำเนินโครงการ

 

 

  

 




ขั้นตอนการดำเนินงาน

 

รูปภาพแสดงขั้นตอนการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานโดยบริษัทจัดการพลังงาน

 

1. ติดต่อเพื่อดำเนินโครงการ จากหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานระหว่างสถานประกอบการและบริษัทจัดการพลังงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้บริษัทจัดการพลังงาน ซึ่งขณะนี้ทางสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางข้อมูล รวมถึงติดต่อประสานในการดำเนินมาตรการทางด้าน การอนุรักษ์พลังงานโดยใช้บริษัทจัดการพลังงานอยู่หรือท่านจะติดต่อกับบริษัทจัดการพลังงานที่ท่านรู้จักและเชื่อมั่นโดยตรง
   
2. สำรวจพลังงานเบื้องต้น ก่อนจะมีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้บริษัทจัดการพลังงานสถานประกอบการจะได้รับการสำรวจ การใช้พลังงานเบื้องต้นในสถานประกอบการของท่านก่อนเพื่อประเมินถึงศักยภาพการใช้พลังงานว่าใช้เหมาะสมแล้วหรือยัง ควรปรับปรุง, ลดการใช้พลังงาน หรือสามารถจัดการพลังงานในส่วนไหนได้บ้าง (ในส่วนนี้จะไม่มีค่าใช้จ่ายในการสำรวจ
   
  ถ้าท่านติดต่อกับหน่วยงานกลางที่ประสานงานให้กับบริษัทจัดการพลังงาน) รูปแบบการสำรวจวิเคราะห์พลังงานมีดังนี้
   
 
     
    • ลักษณะการทำงาน เป็นการพิจารณาถึงภาพรวมการใช้พลังงานในสถานประกอบการของท่าน
    • อุปกรณ์หลักที่ใช้พลังงาน เพื่อเป็นการลงลึกถึงการใช้พลังงานโดยจะมีการพิจารณาอุปกรณ์หลักดังนี้
       
    • ประเภท / ลักษณะ ของอุปกรณ์นั้น ๆ
    • จำนวนอุปกรณ์
    • ชั่วโมงการทำงาน
   
3. วิเคราะห์โครงการ หลังจากการสำรวจและเก็บข้อมูลการใช้พลังงานในสถานประกอบการของท่านแล้วนั้น ทางบริษัทจัดการพลังงาน จะนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสมกับโรงงานของท่าน
   
4. เสนอโครงการ เมื่อพบแนวทางการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสมแล้วบริษัทจัดการพลังงานจะเสนอโครงการหรือมาตรการ อนุรักษ์พลังงานมายังสถานประกอบของท่านโดยจะแสดงให้เห็นข้อมูลแนวทางการอนุรักษ์พลังงานในโครงการมาคร่าว ๆ รวมถึงการประมาณการผลประหยัดที่คาดว่าจะได้ และระยะเวลาคืนทุนของโครงการที่นำเสนอ
   
5. สถานประกอบการ ตอบรับดำเนินโครงการ หลังจากที่สถานประกอบการได้พิจารณาการนำเสนอโครงการแล้วหากไม่เห็นชอบ โครงการก็จะเป็นอันเสร็จสิ้นเพียงข้อที่ 4 แต่หากสถานประกอบการของท่านสนใจดำเนินการก็จะแสดงการตอบรับ ดำเนินโครงการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่บริษัทจัดการพลังงานโดยตรง (ขึ้นอยู่กับการประสานงานของสถานประกอบการแต่แรก) ทั้งนี้หากท่านยังไม่แน่ใจสามารถให้มีการตรวจวัดเพิ่มเติมได้ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจวัดเนื่องจากเครื่องมือ 
ที่นำมาใช้ตรวจวัดราคาค่อนข้างสูง
   
6. ดำเนินการจัดทำสัญญาพลังงาน (Energy Performance Contact; EPC) ในส่วนของรูปแบบสัญญาในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้บริษัทจัดการพลังงานนั้น ส่วนใหญ่มีรูปแบบไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับโครงการที่จะดำเนินการรวมถึงรูปแบบการลงทุนด้วย ทั้งนี้ท่านควรจะทำการศึกษารูปแบบการทำสัญญาให้ดีก่อนดำเนินเพื่อให้เกิดประโยชน์กับท่านมากที่สุด
   
7. ดำเนินโครงการ/ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์
   
8. ตรวจวัดพิสูจน์ผลการประหยัด ในขั้นตอนนี้อาจจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงไปถึงการดำเนินการจัดทำสัญญาพลังงานที่ได้กล่าวแล้วในเบื้องต้น ว่าทั้งสถานประกอบการและบริษัทจัดการพลังงานมีการกำหนดการตรวจวัดพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงานกันในรูปแบบไหน ความถี่มากน้อยเท่าไหร่ ดังนั้นระหว่างการดำเนินการทำสัญญาควรมีการทำข้อตกลงให้แน่ชัดด้วยสำหรับในส่วนนี้
   


ตัวแปรที่ใช้ตัดสินใจในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน

       ในส่วนของการอนุรักษ์พลังงานนั้นจะเห็นว่า แนวทางในการดำเนินการนั้นมีได้หลายวิธี ซึ่งการลงทุนหรือไม่ลงทุนในแต่ละมาตรการนั้น จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์และทำแผนก่อนการลงทุนในรายละเอียดต่างๆ โดยบริษัทจัดการพลังงาน จะทำการศึกษาถึงตัวแปรต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ว่ามาตรการไหนเหมาะสมที่จะลงทุน เพื่อเสนอเจ้าของสถานประกอบการ ตัวแปรหลักๆ ที่บริษัทจัดการพลังงานจะนำมาเสนอเจ้าของสถานประกอบการ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนดำนเนินมาตรการนั้นมีดังนี้ 

  • งบประมาณการลงทุน
  • ผลการประหยัดของแต่ละมาตรการ
  • ระยะเวลาคืนทุนของแต่ละมาตรการรวมทั้งระยะเวลาคืนทุนรวมของโครงการ
  • วิธีการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน

 



คุณสมบัติ

 

ในการคัดเลือกบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) จะใช้วิธีตรวจสอบประสบการณ์เชิงเทคนิค สถานะทางการเงินและการจัดการของผู้เข้าร่วมประมูล ประเมินผลจากการสัมภาษณ์และแหล่งอ้างอิง ที่ ESCO ระบุ เพื่อให้ได้ ESCO ที่เหมาะสมตามที่สถานประกอบการต้องการใช้

    

ข้อควรพิจารณาในการเลือกบริษัทจัดการพลังงานเพื่อดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงาน มีดังนี้

  • ประสบการณ์ การดำเนินโครงการที่ผ่านมา และขอรายชื่อลูกค้าเก่าที่ ESCO เคยดำเนินโครงการที่ผ่านมา
  • ความพร้อมของบุคลากร อาทิ วิศวกร ช่างเทคนิค นักเศรษฐศาสตร์ และบุคลากรด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ความเชี่ยวชาญในการดำเนินมาตรการควรตรวจตามที่หน่วยงานต้องการดำเนินการ
  • ทุนจดทะเบียนของบริษัท (สำหรับกรณีที่บริษัทเป็นผู้ลงทุน)
  • การให้คำแนะนำ หรือจัดหาแหล่งทุน
  • สอบถามการดำเนินงานของ ESCO จากหน่วยงานที่ ESCO เคยดำเนินการในอดีต
  • ความพร้อมทางด้านเครื่องมือพื้นฐาน สำหรับการตรวจวัด และพิสูจน์ผลการประหยัด
  • เปอร์เซ็นต์การแบ่งผลการประหยัด และระยะเวลาการคืนทุนของแต่ละมาตรการไม่ควรนานเกินไป
  • ESCO ควรมีหน่วยงานให้คำแนะนำ หรือฝึกอบรมให้กับบุคลากรของอาคาร
  • ความชัดเจนของข้อตกลงในสัญญา เช่น การรับประกันผลการประหยัด แนวทางการ 
  • ปรับเปลี่ยนฐานการใช้พลังงาน วิธีการตรวจวัดและพิสูจน์ ผลการประหยัดเปอร์เซ็นต์ 
  • การแบ่งผลการประหยัดรวมถึงเงื่อนไขการชดเชยหากผลการประหยัดไม่ได้ตามที่รับประกัน

 

ทั้งนี้สามารถตรวจสอบรายชื่อบริษัทจัดการพลังงานและความชำนาญของแต่ละบริษัทได้ที่ 

คลิกที่นี่