Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

แหล่งเงินทุนจากภาครัฐ



         การส่งเสริมธุรกิจบริษัทจัดการพลังงานที่ผ่านมา นอกจากการจัดกิจกรรม เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานโดยกลไก ESCO แล้วนั้น การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคอาคารธุรกิจ ต้องอาศัยการลงทุนสำหรับมาตรการในการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้เกิดศักยภาพ ในการประหยัดพลังงานและช่วยลดต้นทุนการผลิตได้มากขึ้น

         ปัจจุบัน ทั้งภาครัฐ และสถาบันการเงินต่างๆ มีความยินดีให้การสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงาน โดยกลไก ESCO ไม่ว่าจะเป็นโครงการในส่วนของภาครัฐหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคารที่ให้สินเชื่อสนับสนุนหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนจากการใช้พลังงาน รวมถึงการบริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

      ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจลงทุน ในการอนุรักษ์พลังงานในสถานประกอบการของตนเอง สามารถศึกษารายละเอียดและข้อมูลของแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานจากทั้งภาครัฐ และสถาบันการเงินต่าง ๆ ดังนี้

1. โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน (ESCO Revolving Fund)

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย จึงได้จัดตั้ง “โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน” เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพทางเทคนิค แต่ยังขาดปัจจัยการลงทุน และช่วยผู้ประกอบการหรือผู้ลงทุนให้ได้ประโยชน์จากการขายคาร์บอนเครดิต โดยมอบหมายให้มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.) และ มูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย เป็นผู้บริหารโครงการทำการเปิดรับ และพิจารณาข้อเสนอจากผู้ที่สนใจยื่นขอรับการส่งเสริมลงทุน ภายใต้ความสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ

โครงการจะส่งเสริมการลงทุนในหลายลักษณะ อาทิเช่น ร่วมลงทุนในโครงการ (Equity Investment), ร่วมลงทุนในบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO Venture Capital), ร่วมลงทุนในการพัฒนาและซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Market), การเช่าซื้ออุปกรณ์ (Equipment Leasing), การอำนวยเครดิตให้สินเชื่อ (Credit Guarantee Facility) และการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (Technical Assistance)

 

รายละเอียดโครงการ
มูลค่าโครงการเริ่มแรก : 500 ล้านบาท
ผู้ให้การสนับสนุนโครงการ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
    กระทรวงพลังงาน (พพ.)
ผู้บริหารโครงการ : มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.)
    และมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย

 

วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนมากกว่า 1,250 ล้านบาท
2. ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงานไม่น้อยกว่า 10 ktoe หรือมูลค่าผลประหยัดพลังงานกว่า 250 ล้านบาทต่อปี
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้บริการธุรกิจการจัดการพลังงาน
4. ช่วยเหลือผู้ประกอบการลดต้นทุนการผลิตด้านพลังงานและมีรายได้เพิ่มจากการขายคาร์บอนเครดิต
5. เป็นแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ

 

ผู้มีสิทธิยื่นข้อเสนอ
ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม และ/หรือ บริษัทจัดการพลังงาน (Energy Service Company – ESCO) ที่มีโครงการด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน วัตถุประสงค์เพื่อจะลดปริมาณการใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือต้องการปรับปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงมาเป็นพลังงานทดแทน

ลักษณะการส่งเสริมการลงทุน

1. การเข้าร่วมทุนในโครงการ (Equity Investment)

ESCO Revolving Fund จะเข้าร่วมลงทุนในส่วนทุนของโครงการอนุรักษ์พลังงานหรือพลังงานทดแทน ที่ก่อให้เกิดผลประหยัดพลังงาน

 
  • หลักเกณฑ์การร่วมลงทุน
    - ร่วมลงทุน 10% - 50% ของส่วนทุน แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อโครงการ และไม่เป็นผู้ถือหุ้นหลัก
- ระยะเวลาร่วมลงทุนประมาณ 5 - 7 ปี
- การถอนการลงทุนโดยขายหุ้นคืนให้แก่เจ้าของกิจการ หรือหาผู้ร่วมลงทุนรายใหม่
- ราคาหุ้นที่ซื้อคืนจะเป็นราคาตามที่ตกลงในสัญญาร่วมลงทุน
- เข้าร่วมเป็นกรรมการบริษัท

2) การเข้าร่วมทุนกับบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO Venture Capital)

ESCO Revolving Fund จะเข้าร่วมลงทุนในบริษัทจัดการพลังงาน โดยเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท ทั้งนี้เพื่อช่วยให้บริษัทมีทุนในการประกอบกิจการด้านอนุรักษ์พลังงานมากขึ้น

 
  • หลักเกณฑ์การร่วมลงทุน
   

- ร่วมทุนไม่เกินร้อยละ 30 ของทุนจดทะเบียน แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท
- ระยะเวลาร่วมลงทุนประมาณ 5 - 7 ปี
- การถอนการลงทุนโดยขายหุ้นคืนให้แก่เจ้าของกิจการ
- ราคาหุ้นที่ซื้อคืนจะเป็นราคาตามที่ตกลงในสัญญาร่วมลงทุน
- อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 4% ต่อปี (Flat Rate)

3) การช่วยให้โครงการอนุรักษ์พลังงาน/พลังงานทดแทน ได้รับผลประโยชน์จากการขาย Carbon Credit Market (CDM)

ESCO Revolving Fund จะเป็นผู้ออกเงินในการซื้ออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ให้กับผู้ประกอบการก่อนและทำสัญญาเช่าซื้อระยะยาวกับผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการจะต้องทำการผ่อนชำระคืนเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยเป็น รายงวด งวดละเท่าๆกัน ตลอดอายุสัญญาเช่าซื้อ

 
  • หลักเกณฑ์การเช่าชื้อ
    - สนับสนุนการเช่าซื้ออุปกรณ์ได้ 100 % ของราคาอุปกรณ์แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท
- ระยะเวลาการผ่อนชำระคืน 5-7 ปี
- อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 4% ต่อปี (Flat Rate)

4) การช่วยให้โครงการอนุรักษ์พลังงาน/พลังงานทดแทน ได้รับผลประโยชน์จากการขายคาร์บอน
เครดิต (Carbon Credit Facility)

SCO Revolving Fund จะช่วยดำเนินการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการ CDM ได้แก่ Project Idea Note (PIN) และ Project Design Document (PDD) หรือเป็น ตัวกลางในการรับซื้อCarbon Credit จากโครงการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนที่มีขนาดเล็กและรวบรวม (Bundle Up) เพื่อให้โครงการเหล่านี้สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้

5) การอำนวยเครดิตให้สินเชื่อ (Credit Guarantee Facility)

ESCO Revolving Fund จะร่วมกับสถาบันการเงินหรือองค์กรที่ให้การสนับสนุนในเรื่องการค้ำประกันเครดิต (Credit Guarantee) เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ ESCO Revolving Fund อาจจะเป็นผู้ค้ำประกันเครดิตให้แก่ผู้ประกอบการโดยจำกัดจำนวนเงินตามความเสี่ยงของโครงการแต่ไม่เกิน 10ล้านบาท โดยคิดเป็นค่าทำเนียมการรับประกันสินเชื่อในอัตราต่ำ

6) การช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical Assistance)

ESCO Revolving Fund จะให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค เช่นค่าตรวจสอบการใช้พลังงาน (Energy Audit) หรือค่าใช้จ่ายในการจัดทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ในวงเงินไม่เกิน100,000บาทต่อ โครงการ โดยมีเงื่อนไข คือ ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการในมาตรการอนุรักษ์พลังงานหรือพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจะต้องจ่ายเงินดังกล่าวคืนแก่ ESCO Revolving Fund

     

เงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุน

1. เป็นโครงการด้านอนุรักษ์พลังงาน ตามมาตรการ 7 และมาตรการ 17 ของ พรบ.อนุรักษ์พลังงานเพื่อส่งเสริมให้มีการอนุรักพลังงานภายในประเทศ
2. มีผลตอบแทนการลงทุนที่ดี ี
3. มีอัตราความเสี่ยงด้านการลงทุนทั้งด้านเทคนิค และด้านการเงินอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
4. ส่งเสริมการลงทุนอยู่ในช่วง 10 – 50 % ของมูลค่าเงินลงทุน แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อโครงการ
5. เข้าร่วมลงทุนในการดำเนินธุรกิจในช่วง 10 – 30 % ของทุนจดทะเบียน แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท
6. ผ่อนซื้ออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้ 100 % แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี
7. เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมการลงทุนฯ

 

มาตรการที่ส่งเสริมการลงทุน

มาตรา 7 การอนุรักษ์พลังงานในโรงงานได้แก่ การดำเนินการมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1. การปรับปรุงประสิทธิภาพของการเผาไหม้เชื้อเพลิง
2. การป้องกันการสูญเสียพลังงาน
3. การนำพลังงานที่เหลือจากการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
4. การเปลี่ยนไปใช้พลังงานอีกประเภทหนึ่ง
5. การปรับปรุงการใช้ไฟฟ้าด้วยวิธีปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า การลดความต้องการพลัง
ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงสูงสุดของระบบการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับภาระและวิธีการอื่น
6. การใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ตลอดจนระบบควบคุมการทำงานและวัสดุที่
ช่วยในการอนุรักษ์พลังงาน
7. การอนุรักษ์พลังงานโดยวิธีอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

มาตรา 17 การอนุรักษ์พลังงานในอาคารได้แก่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1. การลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร
2. การปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
3. การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่จะช่วยอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการแสดงคุณภาพของวัสดุก่อสร้างนั้น ๆ่
4. การใช้แสงสว่างในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การใช้และการติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร
6. การใช้ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์
7. การอนุรักษ์พลังงานโดยวิธีอื่นๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

การเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อขอรับแบบการส่งเสริมการลงทุนพร้อมยื่นความจำนงได้ที่

มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (Energy for Environment Foundation)
99/305 ถนนเทศบาลสงเคราะห์ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์: 0-2953-9881-4
โทรสาร: 0-2953-9885
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : efe@efe.or.th

มูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย (The Energy Conservation Foundation of Thailand)
อาคาร 9 เลขที่ 17 ถนนพระราม1 เชิงสะพานกษัตริย์ศึก แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์: 0-2621-8530, 0-2621-8531-9 ต่อ 501, 502
โทรสาร: 0-2621-8502-3
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : escofund@ecft.org