Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

แนวทางการทำ M & V



ขั้นตอนการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน (M&V Process)    

         การตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงาน โดยใช้ ESCO ความถูกต้องในการวัด และการพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงานจะส่งผลถึงระยะเวลาการคืนทุนของเจ้าของสถานประกอบการ

ขั้นตอนการดำเนินการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงานตามแนวทางมาตรฐานสากล IPMVP นั้น สามารถสรุปได้ดังนี้

1. เลือกรูปแบบการตรวจวัดพลังงาน (Option A, B, C, D) ให้เหมาะสมกับมาตรการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมทั้งกำหนดค่าปรับแก้ หากมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้พลังงาน
   
2. รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติและพลังงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในปีฐาน (Base Year) และประกอบการประเมินผลการประหยัดที่จะเกิดขึ้น
   
3. กำหนดวิธีการ หรือมาตรการอนุรักษ์พลังงาน
   
4. จัดเตรียมแผนการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน (M&V Plan)
   
5. ออกแบบ ติดตั้ง และทดสอบอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ภายใต้แผน M&V ที่กำหนด
   
6. หลังจากดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่กำหนดแล้ว และต้องทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้ง พร้อมทั้งปรับปรุงวิธีการใช้งานอุปกรณ์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลการประหยัดพลังงานที่ได้รับสอดคล้องตามที่กำหนดไว้
   
7. รวบรวบข้อมูลการเดินเครื่อง และการใช้พลังงานของอุปกรณ์ หลังจากปรับปรุงตามมาตรการที่กำหนด แล้วนำมาเปรียบเทียบ กับข้อมูลอ้างอิงก่อนปรับปรุง การเก็บข้อมูลนี้ ควรรวมถึงการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์เป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์สามารถใช้งานได้ตามแผนที่วางไว้
   
8. คำนวณและจัดทำรายงานผลประหยัดพลังงานให้สอดคล้องกับแผนงาน (M&V Plan) ที่ได้วางไว้ ทั้งนี้ การตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงานอาจจะกระทำโดยหน่วยงานกลางเพื่อให้มั่นใจต่อผลการตรวจวัดที่เกิดขึ้น
   

 

การวางแผนการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน

การตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงานที่ดี ควรมีการจัดทำแผนการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน (M&V) ควรประกอบไปด้วยข้อมูลหลัก ดังต่อไปนี้

1. วัตถุประสงค์ และรายละเอียดของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และผลประหยัดที่คาดว่าจะได้รับ
   
2. ขอบเขตของการตรวจวัด เพื่อใช้ตัดสินผลการประหยัดพลังงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งในส่วนเฉพาะเจาะจง เช่น การไหลของน้ำเย็นในระบบปรับอากาศ ปริมาณอากาศและจำนวนเชื้อเพลิงในเตาเผาและอื่นๆ หรือครอบคลุมขอบเขตที่กว้าง เช่น พลังงานทั้งหมดที่ใช้ของสถานประกอบการ โดยแยกเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้า และพลังงานความร้อน เป็นต้น
   
3. รายละเอียดที่มาของเงื่อนไขพื้นฐาน และข้อกำหนดต่างๆ สำหรับใช้อ้างอิงเป็นปีฐาน (Base Year) และประมาณการใช้พลังงานในปีฐานของสถานประกอบการ ประกอบด้วย
 
  1) ปริมาณการใช้พลังงาน และลักษณะความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า
  2) ประเภทการใช้พื้นที่ และช่วงเวลาการใช้งาน
  3) สภาวะอากาศ หรือผลผลิต สำหรับแต่ละฤดูกาล
  4) ข้อมูลอุปกรณ์ที่ใช้ในสถานประกอบการ อาจจะแยกย่อยออกเป็นระบบๆ ของภายในสถานประกอบการ
  5) การปรับตั้งค่าการใช้งานของอุปกรณ์ (Set Point)
   
4. ระบุวิธีการหรือแผนการต่างๆ ที่จะใช้ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่ใช้อ้างอิง
   
5. กำหนดงบประมาณการลงทุน และช่วงระยะเวลาการคืนทุนของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน
   
6. กำหนดเงื่อนไข ซึ่งจะใช้ในการปรับเปลี่ยนวิธีการตรวจวัด
   
7. กำหนดกระบวนการจัดเก็บข้อมูลสมมุติฐาน และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชัดเจน
   
8. กำหนดรายละเอียด ตำแหน่ง เวลา ที่จะทำการตรวจวัด ลักษณะคุณสมบัติของเครื่องวัด การ 
เปรียบเทียบเครื่องวัด
   
9. การอ่านค่า และการเป็นพยาน (Witnessing Protocol) ในการอ่านค่าจากเครื่องวัด ขั้นตอน การส่งมอบเครื่องวัด การปรับเปลี่ยนเครื่องวัด และวิธีการแก้ไขเมื่อข้อมูลสูญหายหรือไม่สามารถตรวจวัด ได้
   
10. กำหนดวิธีการประกันคุณภาพของโครงการ
   
11. กำหนดรูปแบบของรายงานการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน 
(Measurement and Verification; M&V) และการนำเสนอผลการประหยัดพลังงานในแต่ละปี

 

ประเด็นที่ควรพิจารณาในการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน


ในการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้บริษัทจัดการพลังงานนั้น มีหลายๆ ประเด็นที่ 
ผู้ประกอบการ และเจ้าของสถานประกอบการแต่ละแห่ง ควรให้ความสนใจในประเด็นหลักต่างๆ ดังนี้

1. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการประหยัดพลังงาน (Factors Affecting the Energy Savings Performance)
   
2. ความไม่แน่นอนในการประเมินผลการประหยัดพลังงาน (Evaluating Saving Uncertainty)
   
3. การทำงานขั้นต่ำของอุปกรณ์ (Minimum Operating Conditions)
   
4. ราคาพลังงาน (Energy Prices)
   
5. การพิสูจน์ผลโดยบุคคลที่สาม (Verification By A Third Party)
   
6. การปรับค่าฐานการใช้พลังงาน (Baseline Adjustments)
   
7. ค่าใช้จ่าย (Cost)