Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

นิยามการตรวจวัดและพิสูจน์การประหยัดพลังงาน



         การตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน (Measurement and Verification; M&V) คือ การตรวจสอบว่ามาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ดำเนินการอยู่ยังคงทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยคำนวณผลการประหยัดพลังงานที่ได้รับจากการตรวจวัดปริมาณการใช้พลังงานก่อน และหลังการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานดังแสดงตามสมการ

    

ผลการประหยัด = (ระดับการใช้พลังงานปกติ) ปรับแก้ — (ระดับการใช้พลังงานภายหลังดำเนินการ)

 

       ซึ่งการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน (M&V) จะเป็นการตรวจวัดประสิทธิภาพของการประหยัดพลังงาน ในโครงการอนุรักษ์พลังงาน เป็นกระบวนการที่สำคัญในการกำหนดและควบคุมความเสี่ยง (Performance Risk) ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทจัดการพลังงาน ถึงแม้ว่าจะมีการออกแบบ ก่อสร้างที่ดีอย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงานแล้ว อาจทำให้ผลการประหยัดพลังงานที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ ในสัญญาพลังงานได้ ซึ่งการวัดและการตรวจสอบที่มีความน่าเชื่อถือ มีที่มาของข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้ จะทำให้บริษัทจัดการพลังงานและเจ้าของสถานประกอบการมั่นใจได้ว่า ผลการประหยัดพลังงานที่เกิดขึ้น จะเท่ากับที่ได้จากคำนวณทางวิศวกรรม ตลอดระยะเวลาของโครงการ ในสัญญาพลังงานจะมีการระบุระดับการใช้พลังงานปกติ (Baseline Energy Use) ของสถานประกอบการซึ่งระดับการใช้พลังงานปกตินี้จะต้องเป็นที่ยอมรับทั้งเจ้าของสถานประกอบการ และบริษัทจัดการพลังงาน

         การตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดพลังงาน (M&V) เป็นขบวนการหรือขั้นตอน ในการหาผลประหยัดที่เกิดจากมาตรการต่างๆ โดยเลือกจากแนวทางมาตรฐาน 4 แนวทางด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป มีอยู่บ่อยที่ผู้ที่เกี่ยวข้องมักเกิดความสับสน ระหว่างความหมายของคำว่า “การตรวจวัดผลประหยัด” (Measurement of Saving) และ “การดูแลตรวจสอบผลประหยัด” (Monitoring of Saving) ทำให้ประเด็นของการทำ M&V นั้นบิดเบือนไปและอาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงเกินความเป็นจริง โดยหลักการแล้ว “การตรวจวัดผลประหยัด” จะหมายถึงการวัดข้อมูลและวิเคราะห์หาจำนวนหรือปริมาณของผลประหยัดที่เกิดขึ้น ส่วน “การดูแลตรวจสอบผลประหยัด” จะหมายถึงการประเมินค่าผลประหยัดที่ได้และหรือแสดงการกระทำใดๆ เพื่อตอบสนองต่อผลประหยัดที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะหมายถึงการปรับเปลี่ยนวิธีการหรืออุปกรณ์ ดังนั้นเองการตรวจวัดผลประหยัด จึงไม่จำเป็นจะต้องทำแบบต่อเนื่อง หรือต้องเก็บข้อมูลไว้ตลอดเวลา อาจจะทำเป็นบางครั้งบางคราวก็ได้ นอกจากนี้แล้ว การใช้คำว่า “การตรวจวัดผลประหยัด” อาจจะไม่ถูกต้องมากนัก เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วผลประหยัดไม่สามารถตรวจวัดได้ สิ่งที่สามารถวัดได้จริงคือปริมาณพลังงานที่ใช้ไป ผลประหยัดเกิดจากความแตกต่างของปริมาณพลังงาน ที่ใช้ก่อนและหลังการใช้มาตรการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะต้องนำปริมาณพลังงานทั้งสองครั้งมาวิเคราะห์เพื่อหาผลประหยัดต่อไป