Thai ESCO ¸ØáԨºÃÔ¡ÒôéÒ¹¾Åѧ§Ò¹ (Energy Service Company: ESCO)

  • ประกาศผลการตรวจสอบรับรองมาตรฐานการดำเนินงานของ ESCO รายชื่อ ESCO ที่เข้าร่วมและผ่านการประเมินโครงการนำร่องฯ ประจำปี 2558 - 2559 และESCO ที่ได้รับใบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (CoP Certificate)

  • Promotion of ESCO Business Project in Thailand "Overview og Energy Conservation Program of Thai Industries in the framework of ESCO" งาน "Thai-German Technology Conference Energy Efficiency industry"

  • คู่มือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด (M&V) แนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด สำหรับโครงการอนุรักษ์พลังงาน 12 มาตรการ

  • Success cases of ESCO สถานประกอบการจากภาครัฐและเอกชนที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการ ESCO ที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ESCO Project Awards จากงานสัมมนา Thailand ESCO Fair

  • สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย สมาคมบริษัทจัดการพลังงานไทย ก่อตั้งเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจ ESCO อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อก่อให้เกิการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสมาคม และให้ความมั่นใจในประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการที่จะได้รับจากการใช้บริการของ ESCO

  • แนวทางการจัดทำระบบรับรองการดำเนินงานของบริษัทจัดการพลังงานไทย (ESCO)

  • ¤é¹ËÒ¼ÙéãËéºÃÔ¡ÒÃ
    • »¯Ô·Ô¹¡Ô¨¡ÃÃÁ
  • à¢éÒÊÙèÃкºÊÁÒªÔ¡
  • µéͧ¡ÒÃÊÁѤÃÊÁÒªÔ¡ãËÁè!

    ÊÁÒ¢Ô¡à¡èÒÅ×ÁÃËÑʼèÒ¹

  •  

สัญญาพลังงาน



สัญญาพลังงาน (Energy Performance Contract - EPC)

         สัญญาพลังงาน คือ สัญญาที่มีการลงนามระหว่างบริษัทจัดการพลังงาน และเจ้าของสถานประกอบการ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่การติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ ไปจนถึงระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ ในสัญญาพลังงานจะมีการกำหนดปริมาณของพลังงานที่สามารถประหยัดได้เมื่อเทียบกับระดับการใช้พลังงานปกติ (Baseline Energy Use) ของกระบวนการผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือระบบนั้นๆ ที่จะดำเนินการ โดยจะระบุระดับการใช้พลังงานปกติไว้ในสัญญาพลังงานด้วย ระดับการใช้พลังงานปกติ (Baseline Energy Use) คือ ระดับการใช้พลังงานที่เป็นอยู่ในกระบวนการผลิต เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ของสถานประกอบการในช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยจะต้องพิจารณาสภาพของการผลิตและการซ่อมบำรุงด้วย เช่น ภาระ (Load) ในการทำงานของกระบวนการผลิต เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ มีลักษณะอย่างไร มีการแปรผันตามเวลาหรือไม่ ในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานโดยบริษัทจัดการพลังงานนั้น บริษัทจัดการพลังงานจำเป็นที่จะต้องหาค่าระดับการใช้พลังงานปกติในแต่ละมาตรการอนุรักษ์พลังงานให้ได้ โดยคำนึงถึง

  • ภาระงานของกระบวนการผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ ว่ามีการแปรผัน หรือ มีค่าคงที่
  • ภาระงานของกระบวนการผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ถ้ามีปัจจัยอื่นๆ แปรผัน
  • ระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการวัด

 

     กรณีที่ระดับการใช้พลังงานปกติเกิดการเปลี่ยนแปลงในสัญญาพลังงานจะระบุว่าคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องดำเนินการอย่างไร มีการปรับแก้ (Adjusted) ค่าระดับการใช้พลังงานปกติ (Baseline Energy Use) อย่างไร สัญญาฉบับนี้จะช่วยให้เจ้าของสถานประกอบการ เกิดความมั่นใจว่าสามารถประหยัดพลังงานได้ เป็นค่าที่แน่นอนจนสิ้นสุดโครงการถ้าช่วงเวลาใดการประหยัดพลังงาน ไม่เป็นไปตามที่ระบุในสัญญาพลังงาน บริษัทจัดการพลังงานซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบ และจะต้องจ่ายเงินส่วนที่ประหยัดไม่ได้ในเดือนนั้น ให้แก่เจ้าของสถานประกอบการ

   นอกจากนี้การกำกับดูแลประสิทธิภาพพลังงานให้บรรลุถึงเป้าหมาย โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ก็สามารถตรวจสอบได้โดยพิจารณาจากสัญญาพลังงานของโครงการซึ่งจะทำให้ พพ. ทราบว่าหลังจากการดำเนินโครงการแล้วเสร็จจะมีการประหยัดพลังงานเกิดขึ้นเป็นจำนวนที่แน่นอน ซึ่งจะมีความแตกต่างกับโครงการอื่นที่ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างแน่ชัดว่าจะประหยัดพลังงานได้เท่าไร เนื่องจากไม่มีผู้รับประกันผลการประหยัดพลังงาน

      1. รูปแบบรับประกันผลประหยัดพลังงาน (Guaranteed Saving)

รูปแบบนี้ผู้รับบริการเป็นผู้ลงทุน โดยมีบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) รับประกันผลการดำเนินงานของโครงการอนุรักษ์พลังงาน และ/หรือพลังงานทดแทน พร้อมกับมีการจัดทำสัญญาพลังงานระหว่างผู้รับบริการกับ ESCO โดยรับประกันผลประโยชน์สุทธิของโครงการที่สามารถดำเนินการได้จะเท่ากับหรือมากกว่าค่าใช้จ่ายที่ผู้รับบริการจะต้องจ่ายในการลงทุน

ถ้าหากผลประโยชน์สุทธิของโครงการที่สามารถดำเนินการได้จริงต่ำกว่าผลประโยชน์สุทธิที่กำหนดในสัญญา แล้ว ESCO จะเป็นผู้ชดเชยส่วนที่ขาดให้กับผู้รับบริการ แต่ในทางตรงข้าม หากผลประโยชน์สุทธิสูงกว่าที่กำหนดในสัญญา ผู้รับบริการต้องแบ่งผลประโยชน์สุทธิส่วนที่สูงกว่าการรับประกันให้กับ ESCO (ในกรณีการแบ่งผลประโยชน์สุทธินั้นขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่าง ESCO กับผู้รับบริการ)

โดยองค์ประกอบที่สำคัญของสัญญาพลังงานรูปแบบรับประกันผลประหยัดพลังงาน (Guaranteed Saving) มีดังนี้

1) วัตถุประสงค์ของสัญญา

2) คำจำกัดความในสัญญา

3) รายละเอียดการดำเนินการตามโครงการ

4) ค่าใช้จ่ายของโครงการ การชำระค่าใช้จ่าย และวิธีการชำระค่าใช้จ่าย

5) การรับประกันผลประหยัดพลังงาน ซึ่งครอบคลุม

·         อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

·         กระบวนการและวิธีการวัดค่าพลังงานและประเมินผลการประหยัดพลังงาน

·         ค่าพลังงานปีฐาน

·         ค่าพลังงาน

·         การรับประกันผลประหยัดพลังงาน และการชดเชยหากผลที่ได้ไม่เป็นไปตามสัญญา

·         ระยะเวลาการรับประกันผลตอบแทน

6) คำรับรองและภาระหน้าที่ของ ESCO

7) คำรับรองและภาระหน้าที่ของผู้ว่าจ้าง

8) การโอนกรรมสิทธิ์ การเลิกสัญญา การแก้ไขสัญญา และการบอกกล่าว

9) เอกสารอื่นๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ได้แก่ คำจำกัดความ รายละเอียดอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน วิธีการวัดค่าพลังงานและประเมินผลการประหยัดพลังงาน และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ตัวอย่างสัญญาพลังงานแบบรับประกันผลประหยัด (Guaranteed Saving) คลิกที่รูป

 

 

 

              2. รูปแบบแบ่งปันผลประหยัดพลังงาน (Shared Saving)

รูปแบบนี้ ESCO เป็นผู้ลงทุน และรับความเสี่ยงค่าใช้จ่ายที่ได้ลงทุนก่อนแล้วนำเอาผลประโยชน์สุทธิของโครงการที่สามารถดำเนินการได้มาแบ่งผลประโยชน์ระหว่าง ESCO กับผู้รับบริการ ตามข้อตกลงในสัญญาพลังงาน โดยองค์ประกอบสำคัญของสัญญารูปแบบแบ่งผลประหยัดพลังงาน (Shared Saving) มีดังนี้

1) วัตถุประสงค์ของสัญญา

2) คำจำกัดความในสัญญา

3) รายละเอียดการดำเนินการตามโครงการ

4) ค่าใช้จ่ายของโครงการ

5) การแบ่งผลประหยัดพลังงาน

6) การดำเนินการของ ESCO

7) คำรับรองและภาระหน้าที่ของ ESCO

8) คำรับรองและภาระหน้าที่ของผู้ว่าจ้าง

9) จำนวนเงินรับประกัน

10) ระยะเวลารับประกันผลตอบแทน

11) การเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่าย

12) การขยายเวลารับประกันผลตอบแทน (ถ้ามี)

13) กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

14) ผู้ว่าจ้าง/ผู้รับจ้างผิดสัญญา

15) แบบและข้อกำหนดทางวิศวกรรมและประมาณการค่าใช้จ่าย

16) เหตุฉุกเฉินในสถานที่ปฎิบัติงาน/เหตุสุดวิสัย

17) การยกเลิกหรือการชะลอโครงการ

18) ผลบังคับใช้ของสัญญา

19) ข้อโต้แย้ง/การแก้ไขสัญญา/การบอกกล่าว

20) หลักประกัน (ถ้ามี)

21) เอกสารอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา

 

      ตัวอย่างสัญญาพลังงานแบบแบ่งปันผลประหยัดพลังงาน (Shared Saving) คลิกที่รูป

           

  3. รูปแบบอื่นๆ เช่น การประกันค่าพลังงานหรือต้นทุนสาธารณูปโภค (Guaranteed Rebate/Chauffage) เป็นต้น

รูปแบบนี้ผู้รับบริการหรือ ESCO เป็นผู้ลงทุนก็ได้ โดย ESCO จะเป็นผู้รับประกันในการผลิตพลังงานตามราคาที่ตกลงให้กับผู้รับบริการ ซึ่ง ESCO จะเข้าไปปรับปรุงติดตั้งอุปกรณ์จ่ายพลังงานและเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบระบบการจ่ายพลังงานตลอดระยะเวลาในสัญญา ผู้รับบริการมีหน้าที่จ่ายเงินตอบแทนเป็นค่าพลังงานตามข้อตกลงในสัญญา

โดยองค์ประกอบสำคัญของสัญญาพลังงานรูปแบบอื่นๆ เช่น สัญญาพลังงานรูปแบบการประกันค่าพลังงานหรือต้นทุนสาธารณูปโภค (Guaranteed Rebate/Chauffage) มีดังนี้

1) วัตถุประสงค์ของสัญญา

2) คำจำกัดความในสัญญา

3) รายละเอียดการดำเนินการตามโครงการ

4) การดำเนินการของ ESCO

5) คำรับรองและภาระหน้าที่ของ ESCO

6) คำรับรองและภาระหน้าที่ของผู้ว่าจ้าง

7) ราคาพลังงาน หรือ ต้นทุนสาธารณูปโภคที่รับประกัน

8) ระยะเวลารับประกันผลตอบแทน

9) ปริมาณซื้อ-ขายพลังงานขั้นต่ำ

10) การขยายเวลารับประกันผลตอบแทน (ถ้ามี)

11) กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

12) ผู้ว่าจ้าง/ผู้รับจ้างผิดสัญญา

13) แบบและข้อกำหนดทางวิศวกรรมและประมาณการค่าใช้จ่าย

14) เหตุฉุกเฉินในสถานที่ปฎิบัติงาน/เหตุสุดวิสัย

15) การยกเลิกหรือการชะลอโครงการ

16) ผลบังคับใช้ของสัญญา

17) ข้อโต้แย้ง/การแก้ไขสัญญา/การบอกกล่าว

18) หลักประกัน (ถ้ามี)

 19) เอกสารอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา